ปฏิกิืยาเคมีในสารอินทรีย์นั้น เกี่ยวข้องกับการสร้างหรือทำลายพันธะผผ่านสารตัวกลาง โดยมีทิศทางการเกิดปฏิกริยาผ่านสารตัวกลางนั้น เรียกว่า กลไกการเกิดปฏิกริยา
ปฏิกริยาในสารอินทรีย์แบ่งเป็น 6 ประเภทได้แก่
1. ปฏิกริยาการแทนที่ เกิดขึ้นเฉพาะกับสารที่อิ่มตัวแล้ว (เพราะอิ่มตัวแล้ว เลยต้องแทนที รับอีกไม่ได้่)
2. ปฏิกริยาการเติม เกิดขึ้นเฉพาะกับสารที่ไม่อิิ่มตัว
3. ปฏิกริยาการขจัดออก เป็นการดึงเอาอะตอมใดๆออกไม่จากโมเลกุล แล้วอะตอมที่เหลืออยู่มีดารเปลี่ยนแปลงพันธะ
4. ปฏิกริยาการจัดเรียงตัวใหม่ ต้องการสภาวะที่เหมาะสม และสารผลิตภุณฑืจะมีสูตรโมเลกุลเหมือนสารตั้งต้น
5. ปฏิกริยา Polymerization ทำให้สารมีโมเลกุลใหญ่ขึ้นโดยมีมู่ซ้ำกั้น
6. ปฏิกริยาการแตกออก แตกจากโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลง
การสร้างพันธะ
การสร้างพันธะโคเวเลนต์ 1 พันธะนั้น จะใช้อิเล็กตรอน 2 ตัว โดยอิเล็กตรอน 2 ตัวนั้นจะวิ่งวนๆอยู่รอบๆอะตอมที่ทำพันธะกัน การสร้างพันธะมี 2 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 คือ อะตอมที่สร้างพันธะกัน ใช้อิเล็กตรอนอะตอมละ 1 อิเล็กตรอน แชร์กัน
แบบที่ 2 คือ อะตอมใดอะตอมหนึ่งใช้อิเล็กตรอน 2 ตัว อีกตัวไม่ใช้เลย แต่ทำพันธะกันเพราะไม่สเถียรเหมือนกัน
การทำลายพันธะ
มี 2 แบบเช่นเดียวกันคือ เมื่อแตกแล้ว ทั้งสองอะตอมได้อิเล็กตรอนคนละตัว หรือแตกแล้ว อะตอมหนึ่งได้ไป 2 ตัว อีกอะตอมไม่ได้เลย
สารตัวกลาง (Intermediate)
สารตัวกลาง (หรือสารมัธยันตร์ก็ได้ แต่ผมไม่ค่อยชอบอ่ะนะ) ที่พบในสารอินทรีย์แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. Carbon Radical
3. Carboanion ต่างจาก Carbon Radical ตรงที่ว่า C มีอิเล็กตรอนเพิ่มมาอีกตัว ทำให้สภาพขั้วเป็นลบ
4. Carbene มีอิเล็กตรอนเหลือ 2 ตัวเช่นเดียวกับ Carbanion แต่ว่า มี R มาเกาะแค่ 2
ความสเถียรของ Carbon Radical
Carbon Radical นั้นมีอิเล็กตรอน แค่ 7 จึงมีความต้องการอิเล็กตรอนมาก ซึ่งก็จะสามารถหาอิเล็กตรอนได้ง่ายใน R (หมู่อัลคิลที่มาเกาะ) ใน R มีอิเล็กตรอนให้เยอะมากๆๆๆ แต่ใน H มีอิเล็กตรอนแค่ตัวเดียว เพราะฉะนั้น Carbon Radical ที่มี R มาเกาะเยอะ ก็จะยิ่งสเถียรมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น